Akkhraratchakumari Veterinary College's

Learn About Us

Akkhraratchakumari Veterinary College's

Akkhraratchakumari Veterinary College’s small animal teaching hospital is a full-service veterinary hospital. Sustaining support for bringing animals to animal treatment services for esidents in the neighborhood and throughout the city. Small animal hospitals are outfitted with cutting-edge technology in a variety of sectors, including operating rooms and endoscopic machines. It is a spotless and immaculate space. Humidity and temperature control can assist in preventing infection outside of the operating area. Our hospital is well-equipped, allowing veterinarians and vet-nurses to provide effective and efficient care.

Services

Digital X-ray diagnosis

       ระบบเอกซเรย์แบบดิจิตอล (Digital Radiography: DR) เป็นเทคโนโลยีที่มาแทนที่ระบบเอกซ์เรย์ปัจจุบันที่ใช้ฟิล์ม โดยระบบเอกซเรย์ดิจิตอล จะช่วยให้สัตวแพทย์ได้รับภาพถ่ายทางรังสีและผลวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากฟิล์มที่ได้ไม่ต้องเสียเวลาผ่านกระบวนการล้างฟิล์มในห้องมืด แต่เป็นการประมวลผลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งมีข้อดีดังนี้

  • ทำให้สัตวแพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาสัตว์ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • สัตว์ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาเร็วขึ้น ลดเวลาการรอคอยผลการเอกซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์มและการค้นหาฟิล์ม
  • สามารถปรับความคมชัดของภาพได้มากขึ้นเนื่องจากเป็นภาพดิจิตอล จึงลดการถ่ายซ้ำจากการที่ภาพไม่ชัดในระบบฟิล์ม เป็นการลดปริมาณรังสีที่สัตว์ได้รับ
  • ภาพที่ได้เป็นภาพดิจิตอลมีความคมชัดมากขึ้นและไม่เสื่อมคุณภาพไปตามกาลเวลาเมื่อเทียบกับฟิล์ม
  • ลดการสูญหายของฟิล์มเอกซเรย์เก่าที่เกิดขึ้นในระบบเดิม
  • ภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ได้เก็บในฐานข้อมูลของสัตว์ป่วย สัตวแพทย์ผู้รักษาสามารถเรียกดูเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจากภาวะโรคและผล การรักษาช่วยในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาอีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาล ทำให้สามารถรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ใช้เพื่อตรวจสอบ
  • การแตกหักของกระดูก ความผิดปกติของกระดูกและข้อ
  • ตรวจนับจำนวนลูก และประเมินการคลอดของสุนัขและแมว
  • ตรวจดูขนาดหัวใจและช่องอก
  • ตรวจระบบทางเดินหายใจ หลอดลมและปอด
  • ตรวจดูนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือไต

Services

Veterinarian mobile service

    พร้อมแล้วสำหรับหน่วยรถรักษาสัตว์เคลื่อนที่ (AVC Mobile unit) โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมให้บริการเพื่อรองรับการออกหน่วยบริการรักษาสุขภาพสัตว์ ภายใต้ โรงพยาบาลสัตว์ 2 แห่ง ได้แก่

  • โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ใกล้ศูนย์การแพทย์ ให้บริการรักษา ผ่าตัด วัคซีน และอื่นๆ ให้กับสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเป็นหลัก
  • โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ให้บริการรักษาสัตว์ปศุสัตว์ทุกชนิด อาทิ โค กระบือ แพะ แกะ ไก่ ตลอดจนช้างและสัตว์ป่า นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลสัตว์ฯ ยังมีรถรักษาสัตว์เคลื่อนที่ ที่ให้บริการสัตว์ปศุสัตว์ สัตว์ป่า หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงกลุ่มสุนัขและแมว

    หากเจ้าของสัตว์ท่านใดไม่สะดวกในการนำพาสัตว์เลี้ยงของท่านมารับบริการที่โรงพยาบาลสัตว์ได้ ท่านเจ้าของสัตว์สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 075-673902 , 075-673904 เพื่อให้รถบริการรักษาสัตว์เคลื่อนที่ของวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์ฯ ได้ออกไปบริการท่านถึงบ้าน สะดวกอย่างยิ่งสำหรับท่านเจ้าของสัตว์ที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือยานพาหนะ เพื่อสัตว์เลี้ยงที่น่ารักของท่านจะได้รับบริการด้านสุขภาพอย่างทันท่วงที

Services

Operating room

  • ห้องผ่าตัดถูกแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน เป็นระบบปิดที่จำกัดเฉพาะการกระทำที่เกี่ยวข้องกับภาวะปลอดเชื้อเท่านั้น
  • ห้องผ่าตัดถูกสร้างขึ้นภายใต้มาตรการของความเสี่ยงในการปนเปื้อนน้อยที่สุด
  • การผ่าตัดใหญ่ที่สำคัญใช้เฉพาะอุปกรณ์ผ้าขนหนูและผ้าผ่าตัดที่ได้รับการฆ่าเชื้อเท่านั้น
  • มีการตรวจสอบรายละเอียดต่อไปนี้ก่อนทำการผ่าตัด
  • มีการระบุตัวสัตว์เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นสัตว์ป่วยที่ต้องการแน่นอน
  • ประเภทของการผ่าตัด ตำแหน่งที่จะทำการผ่าตัด
  • การทดสอบที่ควรทำก่อนการผ่าตัด ผลการทดสอบ มีการประเมิน และลงบันทึกผล เรียบร้อยแล้ว

   มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัด

  • โต๊ะผ่าตัดที่พื้นผิวไม่มีรูพรุน ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อน
  • oxygensupply
  • เครื่องดมยาสลบ มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ และมีvaporizer ที่จำเพาะกับชนิดยาสลบที่ใช้
  • ระบบ scavenging สำหรับแก๊สทิ้งจากระบบวางยาสลบ
  • ยาฉุกเฉินจัดวางให้อยู่ในที่นำมาใช้ได้สะดวก
Services
Ultrasound diagnosis

Ultrasound  

     การอัลตราซาวด์ Ultrasound : การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจทางการแพทย์ที่อาศัยคลื่นความถี่สูงเกินความสามารถที่หูมนุษย์จะได้ยิน (สูงกว่า 20,000 รอบต่อวินาที) ส่งคลื่นเสียงผ่านหัวตรวจไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ต้องการตรวจ เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อร่างกายต่างชนิดกันจะหักเหสะท้อนกลับมาสู่หัวตรวจต่างกันไปตามแต่ชนิดของเนื้อเยื่อ จากนั้นเครื่องอัลตราซาวด์จะนำคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับนี้แปลงเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตามการเคลื่อนที่ของหัวตรวจในขณะนั้น และสามารถนำมาสร้างภาพเป็น 3 มิติ เหมือนการถ่ายรูป

  • การตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง
  • ตรวจเช็คประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ (Echocardiography)
  • ตับ ตรวจดูก้อนเนื้องอกหรือการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ มายังตับ ตรวจดูขนาดของตับ ดูภาวะผิดปกติ เช่น ตับแข็ง ฯลฯ
  • ถุงน้ำดี ตรวจหานิ่วถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็ง และเนื้องอก อื่นๆ ของถุงน้ำดี
  • ท่อน้ำดี ตรวจดูภาวะอุดตันจากนิ่ว หรือเนื้องอก มะเร็ง ภาวะตีบตัน หรือโป่งพอง ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด
  • ตับอ่อน ตรวจดูเนื้องอก มะเร็งภาวะตับอ่อนอักเสบ ตรวจหานิ่วในท่อตับอ่อน
  • ม้าม ดูขนาดของม้าม ตรวจดูภาวะฉีกขาดเลือดออกในรายที่ประสบอุบัติเหตุ
  • ไต ใช้ตรวจหานิ่วในเนื้อไต และท่อไต ตรวจหาเนื้องอกและซิสต์ของไต วัดขนาดไตในผู้ป่วยไตวาย ไตอักเสบความผิดปกติแต่กำเนิด
  • การตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะอุ้งเชิงกราน มดลูก ดูขนาดของมดลูก ต่อมลูกหมาก ตรวจหาเนื้องอกในมดลูกและรังไข่ และก้อนเนื้อในอุ้งเชิงกราน
  • ตรวจเช็คลูก การตั้งท้อง กำหนดการคลอด
  • ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ตื้นอื่นๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ เต้านม
  • ตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดโป่งพอง ภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน เป็นต้น
  • ตรวจเพื่อเป็นแนวทาง และวางตำแหน่งเข็มในการเจาะดูดหรือตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจต่อไป

        การเตรียมตัวสัตว์ก่อนเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ : หลังจากที่นัดตรวจอัลตร้าซาวด์กับคุณหมอแล้ว ควรจะเตรียมตัวสัตว์ก่อนเข้ารับการตรวจ ดังนี้

  • งดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ก่อนถึงเวลาตรวจ เนื่องจากอาหารในทางเดินอาหารจะขัดขวางการมองเห็น และอาจส่งผลการแปรผลได้ยากยิ่งขึ้น
  • สามารถให้สัตว์เลี้ยงกินน้ำได้ ไม่ต้องอดน้ำนั่นเอง จากคลื่นเสียงสามารถผ่านตัวกลางที่เป็นน้ำได้
  • เมื่อถึงวันเวลานัดหมาย ควรนำยาต่างๆ ที่ได้ให้กับสัตว์ก่อนหน้านี้มาด้วย
  • หากมีฟิล์ม X-ray ที่เกี่ยวข้องจะต้องนำมาด้วยประกอบการวินิจฉัย

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper matti pibus leo.

Contact us